Monday, 15 October 2018

Week 3: การออกแบบกลไกขับเคลื่อนการบริหาร คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ

สวัสดีครับ สำหรับสัปดาห์ที่ 3 ของทีมบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มี ผศ. ดร. ณยศ คุรุกิจโกศล (อ. ปิ๊ก) นำทีมในฐานะคณบดี ได้มีเรื่องสำคัญ ๆ ที่จะได้บันทึกเผยแพร่ไว้ ดังนี้ครับ

การคัดเลือกธนาคารเพื่อให้บริการบัตรนิสิตอิเล็กทรอนิกส์

เรื่องนี้ไม่ใช่ภารกิจโดยตรงในฐานะคณบดี แต่ผมได้ร่วมเป็นคณะทำงานในการคัดเลือกธนาคารเพื่อเข้ามาให้บริการจัดทำบัตรนิสิตอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเพิ่มประสบการณ์การเข้าสู่สังคมดิจิทัลให้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา  โดยธนาคารที่ได้รับคัดเลือกจะมาให้บริการบัตรนิสิตในลักษณะบัตร ATM ที่สามารถใช้แทนเงินสดในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย (Cashless Society) อีกไม่นาน โรงอาหารวิศวะอาจสามารถรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ครับ

นอกจากนั้นธนาคารยังจะนำระบบ Smart ต่าง ๆ มาให้บริการ เช่น ระบบ Access Control สำหรับการเข้าใช้บริการหอพัก และ ห้องสมุด การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน ฯลฯ

อย่างไรก็ดี ระหว่างการคัดเลือกและเจรจากับธนาคารพบปัญหาอุปสรรคบ้าง คาดว่าจะสามารถคัดเลือกธนาคารมาให้บริการได้ในเร็ว ๆ นี้ครับ

ประเด็นสำคัญจากการประชุมทีมบริหาร Top Management

ในการประชุมประจำสัปดาห์ Top Management (TM) เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ซึ่งทีม Top Management ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าสำนักงานคณบดี มีประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้ครับ
  1. การวิเคราะห์จำนวน/คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน  รวมทั้งการวิเคราะห์ศักยภาพของหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มอบรองคณบดีฝ่ายวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลมาเสนอเพื่อพิจารณาต่อไป
  2. การเตรียมการสำหรับการออกแบบหลักสูตร ทล.บ. พันธุ์ใหม่ หลักสูตรต่อเนื่อง ร่วมมือกับอุตสาหกรรม ตอบโจทย์ความต้องการของ EEC เน้นรับผู้เรียนจากกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. และมีงานทำอยู่ในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว จัดการเรียนรู้แบบ Modular เน้นพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับทำงานโดยตรง  เลือกเรียนแบบ Non-degrees ได้ และอาจมีการใช้เทคโนโลยี MOOCs เข้ามาช่วยเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียน/ทดสอบ Online ด้วยตนเองระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และมาเข้ากลุ่มปฏิบัติในวันเสาร์หรืออาทิตย์  โดยในสัปดาห์นี้คณบดีและรองฯ วิชาการได้เข้าพบหารือกับ ผศ. ดร. วิมลรัตน์ จตุรานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเพื่อหารือในเรื่องนี้
  3. แนวทางในการจัดตั้งศูนย์พหุวิทยาการ (Interdisciplinary Centres) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลพันธกิจวิจัยและบริการวิชาการของคณะ เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับและแสวงหาโอกาสความร่วมมือเกี่ยวกับการวิจัย/บริการวิชาการต่าง ๆ โดยมอบให้รองฯ วิจัย เป็นผู้จัดเตรียมแนวทางในเรื่องนี้
  4. การพัฒนาระบบองค์การอัจฉริยะ โดยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าใช้ในการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติ ลดเวลาในการทำงาน และลดขั้นตอน
  5. การกำหนดวิธีการสื่อสารอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ สำหรับการสื่อสารภายในองค์การ โดยมอบ รองฯ บริหาร เป็นผู้ยกร่างประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง การวางระบบการสื่อสารภายในองค์การ
  6. การจัดทำรายงานวิเคราะห์สถานะทางการเงิน รายรับจริง รายจ่ายจริง เงินสะสม สำหรับรายงานให้แก่กรรมการประจำคณะ/ประชาคมทราบ มอบรองฯ ยุทธศาสตร์
  7. ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เนื่องจากเริ่มปีงบประมาณใหม่ไปแล้ว มีความเห็นว่าสมควรใช้ระบบ KPI ในการประเมินผลการปฏิบัติงานไปก่อน และทำการยกร่างแนวทางการประเมินผลตามระบบ OKRs ในระยะเวลา 1 ปีเพื่อให้สามารถใช้ได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ดี สมควรให้มีการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินตามระบบ KPI ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น มอบรองฯ ยุทธศาตร์ ดำเนินการในเรื่องนี้
  8. แนวทางในการโอนหลักสูตรสังกัดสำนักงานจัดการศึกษาไปสังกัดภาควิชา เพื่อลด Overhead และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร มอบหัวหน้าภาควิชาไปปรึกษาหารือและนำเสนอความคิดเห็นในการประชุมครั้งต่อไป

คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์

ที่ประชุม Top Management (TM) ได้หารือถึงโครงสร้างของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งผมได้เสนอให้แบ่งชั้นของคณะกรรมการออกเป็น 3 ชั้น คือ 

ชั้นที่ 1 Policy Body 

ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผนและอนุมัติแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งรับรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะ  โดยกรรมการในชั้นนี้มีชุดเดียว คือ คณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมีการกำหนดหน้าที่และอำนาจไว้ในข้อบังคับ  คณะกรรมการประกอบด้วย คณบดี (ประธาน) รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา ไม่เกิน 5 คน (ปัจจุบันมี 4 คน ได้ประชุมเลือกกันเองแล้วเมื่อวันที่ 8 ต.ค. ทั้ง 4 คนได้แก่หัวหน้าภาค IE ME ChE และ CE เป็นกรรมการประจำคณะ คงเหลือที่ว่างอีก 1 ที่) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคณะ 5 คน และผู้แทนคณาจารย์​ 3 คน

ชั้นที่ 2 Governing Body

ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบ กลั่นกรองและเสนอความคิดเห็นแก่คณบดีและคณะกรรมการประจำคณะ ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงสร้าง
  1. คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธานกรรมการ
  2. รองคณบดีทุกคน กรรมการ
  3. หัวหน้าภาควิชา 5 ภาควิชา กรรมการ
  4. ผู้แทนคณาจารย์ในกรรมการประจำคณะ กรรมการ
  5. รองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาองค์การ กรรมการและเลขานุการ
  6. หัวหน้าสำนักงานคณบดี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  7. ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่เกิน 2 คน ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่

  1. พิจารณากลั่นกรองแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และแผนกลยุทธ์การเงิน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการประจำคณะให้ความเห็นชอบ รวมทั้งการพิจารณารายงานผลการดำเนินงานตามแผนข้างต้น และจัดทำข้อเสนอเพื่อพิจารณาให้แก่คณะกรรมการประจำคณะ
  2. พิจารณากลั่นกรองประกาศต่างๆ 
  3. พิจารณากลั่นกรองและรับรองให้ดำเนินการไปก่อนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารหลักสูตร การพัฒนานิสิต การวิจัย การบริการวิชาการและนวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เฉพาะในส่วนที่เป็นภาระงานประจำ แล้วจึงรายงานและเสนอเพื่อพิจารณาทักท้วงในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ
  4. หน้าที่อื่น ๆ ที่คณบดีหรือคณะกรรมการประจำคณะมอบหมาย
2. คณะกรรมการบริหารวิชาการ
โครงสร้าง
  1. คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธานกรรมการ
  2. รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิต กรรมการ
  3. ประธานหลักสูตรทุกหลักสูตร กรรมการ
  4. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
  5. ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่เกิน 2 คน ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่
  1. วางแผนการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งกำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะกรรมการประจำคณะฯ ทราบ
  2. วางระบบการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน  รวมทั้งกำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะกรรมการประจำคณะฯ ทราบ
  3. วางแผนการผลิตบัณฑิต การรับเข้า รวมทั้งกำกับ ติดตาม การคงอยู่ของผู้เรียน การสำเร็จการศึกษา และจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ออกแบบ และบริหารระบบบริการทางการศึกษา เช่น ระบบการให้บริการเกี่ยวกับการทะเบียนกลาง ระบบการจัดสอบ และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. วางระบบการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนในช่วงชั้นต่างๆ รวมทั้งการประเมินสมรรถนะของบัณฑิ
  6. หน้าที่อื่นๆ ตามที่คณบดี คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะกรรมการประจำคณะมอบหมาย
3. คณะกรรมการบริหารการวิจัย บริการวิชาการ และนวัตกรรม
โครงสร้าง
  1. คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธานกรรมการ
  2. คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งคณะกรรมการบริหารฯ เสนอ จำนวนไม่เกิน 7 คน กรรมการ
  3. ผู้แทนนักวิจัยซึ่งคณาจารย์เลือกกันเอง จำนวน 5 คน กรรมการ
  4. รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และนวัตกรรม กรรมการและเลขานุการ
  5. ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่เกิน 2 คน ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่
  1. วางแผนพัฒนาการวิจัย บริการวิชาการ และนวัตกรรม กำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะกรรมการประจำคณะทราบ
  2. วางระบบการบริหารและสนับสนุนการวิจัย บริการวิชาการ และนวัตกรรม การจัดตั้งศูนย์พหุวิทยาการ การพิจารณาให้ความเห็นชอบ รวมทั้งการยกร่างและปรับปรุงประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ให้ความเห็นชอบผลการพิจารณาทุนสนับสนุนการวิจัย บริการวิชาการ และนวัตกรรม รายงานความก้าวหน้า และการขอขยายทุน
  4. หน้าที่อื่นๆ ตามที่คณบดี คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะกรรมการประจำคณะมอบหมาย
4. คณะกรรมการพัฒนานิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์
โครงสร้าง
  1. นายกสมาคมศิษย์เก่า หรือผู้แทน ที่ปรึกษา
  2. คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธานกรรมการ
  3. คณาจารย์ซึ่งคณะกรรมการบริหารฯ เสนอ ภาควิชาฯ ละ 1 คน กรรมการ
  4. นายกสโมสรนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ กรรมการ
  5. รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิต กรรมการและเลขานุการ
  6. ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่เกิน 3 คน ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่
  1. วางแผนการพัฒนานิสิต กำกับ ติดตามและรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะกรรมการประจำคณะทราบ
  2. พัฒนาระบบการฝึกงานและสหกิจศึกษา รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์สหกิจศึกษา 
  3. วางระบบศิษย์เก่าสัมพันธ์ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์​ กำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะกรรมการประจำคณะทราบ
  4. หน้าที่อื่นๆ ตามที่คณบดี คณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะกรรมการประจำคณะมอบหมาย

ชั้นที่ 3 Management Body

ทำหน้าที่ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ทั้งที่เป็นงานระยะสั้นและงานระยะยาว จัดตั้งขึ้นตามความจำเป็น เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการจัดการความรู้ ฯลฯ

ทั้งนี้จะเห็นว่ากรรมการในชุดต่าง ๆ ไม่เน้นการให้ภาควิชาส่งตัวแทนเหมือนเช่นเคย แต่เน้นการสรรหาจากผู้ที่มีความสามารถและความถนัดในแต่ละด้านเป็นสำคัญ ประกอบกับการเน้นการมีส่วนร่วมโดยตรงจากประชาคม


ความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด


ผู้บริหารบริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำด้านการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) เช่น Switching Power Supply ได้เข้าหารือความร่วมมือในการรับสมัครงาน การฝึกงานแบบสหกิจศึกษา และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ดังนี้
[ขอบคุณ อ. เต้ รองฯ พัฒนานิสิต สำหรับสรุปหัวข้อที่หารือนะครับ]

สรุปการพูดคุยความร่วมมือกับบริษัท Delta Electronics (Thailand)  เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2561
 1. บริษัท Delta เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะทางด้าน Power Electronics สินค้าเด่นได้แก่ Switching Power supply ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่ไต้หวัน มีสินค้าและบริกาคดังนี้
  ○ Power Electronics
   § กลุ่ม Switching power supply
   §  Fans and Thermal Management
   § Electronics Component
  ○ Energy Management
   § Automation
   § ระบบไฟฟ้าคมนาคม
   § Data center
   § EV เน้น ตัวควบคุมทางไฟฟ้าของรถ และสถานีชาร์จ
   § พลังงานหุนเวียน
  ○ Smart green life
 โดยอยู่ในกลุ่ม boi และบริษัทมีแผนก Research and Development   ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู และที่ เวลโกร์

 2. มีแผนขยายโรงงานในปีหน้า จึงขอมาประชาสัมพันธ์บริษัทให้นิสิตทราบ
  a. แผนรับสมัครงานตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกล และสมองกลฝัวตัว 100 คน
  b. แผนรับนิสิตฝึกงาน ทั้งภาคฤดูร้อนและสหกิจ
  c. การให้ทุนการศึกษา 2 แบบ คือ
   § ทุนให้เปล่า 20,000 บาท
   § ทุนผูกมัด 100,000 บาท โดยจะต้องทำงานกับบริษัท 1 ปี
  ทั้ง 2 ทุนนี้จะต้องมีการทำ Project ร่วมกับบริษัท (เน้นรับปี 4)

 3. กิจกรรม Delta Career Day และ Delta Introduced Campus มาแนะนำบริษัทและเปิดรับสมัครงาน/สัมภาษณ์ที่สถานศึกษา
  ○ เพื่อให้สอดคลัอง การเปิด/ปิดภาคการเรียนใหม่ ทางคณะจะทำ Timeline ที่เหมาะสมในการเข้ามาแนะนำและเปิดรับสมัครงานของแต่ละบริษัทที่เรียกว่า Job Hunting ซึ่งเป็นซีรีย์กิจกรรมสำหรับนิสิตปี 4 ในการเตรียมพร้อมสำหรับการสมัครงาน
  ○ ในเบื้องต้นช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ช่วงเดือน พฤศจิกายน

 4. กิจกรรม Visit Campany  เป็นการพานิสิตและคณาจารย์ไปเยี่ยมชมโรงงาน ที่นิคมบางปู สามารถรองรับได้ 100 คน ซึ่งจะไปเยี่ยมชมในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้
  ○ สำหรับกลุ่มเป้าหมายคือ นิสิตปี 4 หรือชั้นปีต่างๆ ที่สนใจ โดยมีสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (power electronics) วิศวกรรมสมองกลฝังตัว วิศวกรรมเครื่องกล
  ○ ซึ่งในการเยี่ยมครั้งนี้โดยส่วนใหญ่เป็นนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จึงมอบให้หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นผู้ประสานงานวันที่แน่นอน
  ○ ส่วนภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อาจจะให้อ.โชคชัย ประชาสัมพันธ์นิสิตที่สนใจ
  ○ ทีมผู้บริหารไปร่วมเยี่ยมชมด้วย

 5. Partner ทางด้านการฝึกงานสหกิจ
  ○ สามารถรับได้ประมาณ 20 คน
  ○ ทางคณะเสนออาจจะส่งอาจารย์ไปทำวิจัยที่บริษัทด้วย
  ○ การฝึกงานส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบ 2+4 เดือน (ฤดูร้อน 2 เดือน สหกิจ 4 เดือน)
  ○ ทางบริษัทมีประเด็นเรื่องความต่อเนื่องจาก project ที่ทำร่วมกัน เนี่องจากนิสิตสิ้นสุดการฝึกสหกิจและต้องกลับไปเรียนในภาคเรียนที่เหลือ
  ○ ทางคณะจึงเสนอแนวทาง โดยอาจให้ทำเป็น project ต่อเนื่องในวิชา project 2 นิสิตสามารถกลับไปทำ project ที่บริษัทได้ ถ้ามีข้อมูลลับ อาจจะจัดการสอบ project ที่บริษัทได้

 6. ความร่วมมือทางหลักสูตรพันธุ์ใหม่
  ○ คณะแนะนำหลักสูตร ทล.บ. เน้นคนทำงาน เป็นเรียนแบบเก็บชั่วโมงครบได้ใบประกาศ โดยเป็นรูปแบบออนไลน์ จ. -ศ. ผ่านแล้วต้องมาทำ workshop ส.-อา ซึ่งตรงกับความต้องการของบริษัทที่มีการส่งพนักงานอบรมหรือเรียนเพื่อปรับวุฒิอยู่แล้ว
  ○ บริษัทมีความสนใจ อาจจะส่งพนักงานมาเรียนเฉพาะด้าน โดยขอกลับไปปรึกษากับหัวหน้าวิศวกรกับ HR สำหรับหัวข้อการเรียนรู้ที่ต้องการ

 7.   ความต้องการบัณฑิตของบริษัท
  ○ ตรงสาขาวิชาที่เปิดรับ
  ○ การใช้ software เฉพาะทางได้ เช่น MATLAB, PCL, Labview, Prometheus PCB,  ภาษา C++ Python
  ○ สื่อสารภาษาจีนได้ จะพิจารณาเป็นพิเศษ
  ○ ขึ้นอยู่แผนก บริษัทจะสอบถามให้อีกที
  ○ นอกจากนี้บริษัทยังต้องการเจ้าหน้าที่งานทั่วไปที่ใช้ภาษาจีนได้ ทางด้านมนุษยศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ เอกภาษาจีน

 8. ตอนนี้บริษัทเน้นทางด้าน Embedded System ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของหลักสูตร Embedded System ที่จะมีความร่วมมือกันในอนาคต

 9. บริษัทยินดีมาเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวและชี้แจงการฝึกงานสำหรับนิสิตปีที่ 3 ในวันพฤหัสที่ 18 ต.ค. 2561 ณ ห้องประชุม 1 ตึก M คณะวิศวกรรมศาสตร์


No comments:

Post a Comment